เปลี่ยนภาษา Blogger

กล้วย



''ประโยชน์ของ กล้วย''เพื่อสุขภาพที่ดี


กล้วยทุกชนิดดีต่อสุขภาพ แต่กล้วยไข่ดีเป็นพิเศษในเรื่องของสาร ต้านอนุมูลอิสระ
ที่เรารู้จักดี คือ เบต้าแคโรทีน โดยธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้นหรือเกิน 22
ปีไปแล้ว ความเจริญเติบโตของร่างกายจะเริ่มหยุดชะงัก ความเสื่อมในส่วนต่างๆ
ของร่างกายก็เริ่มมาเยือน ช่วงนี้เอง มี 2 สิ่งที่สำคัญเกิดขึ้นในร่างกายเราซึ่งก็คือ
เซลล์ในร่างกายทุกเซลล์ก็จะผลิตอนุมูลอิสระมากขึ้น และส่วนที่สองคือ ความ
สามารถในการซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกายจะลดลงเรื่อยๆ พร้อมกันนั้น
ความสามารถในการจำกัดอนุมูลอิสระ ก็ลดลง ในกล้วยไข่ 1 ขีด มีสาร
เบต้าแคโรทีนถึง 492 มิลลิกรัม
1. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุท้องเสีย
กล้วยมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุอาการท้องเสีย เช่น Escherichia coli, Bacillus subtilis และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทัยฟอยด์ เป็นต้น (1, 2)
2. สารสำคัญในการออกฤทธิ์แก้อาการท้องเสีย
พบสาร tannin (3) ซึ่งมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสียได้ (4)
3. ฤทธิ์รักษาอาการอุจจาระร่วง
ผู้ป่วยอุจจาระร่วงจำนวน 31 คน รับประทานกล้วยแผ่น (banana flakes) ขนาด 40 กรัมต่อคน สามารถลดอาการท้องร่วงที่เกิดจากเชื้อ Clostridium difficile ได้ (5)
4. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
กล้วยมีฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (6-15) แป้งจากผลกล้วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนูขาวเนื่องจากแอสไพริน indemethacin, phenylbutazone, prednisolone และ cyscamine และป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนูตะเภาเนื่องจากฮีสตามีน (6) หนูที่กินกล้วยหักมุกดิบขนาด 5 ก./วัน นาน 2 วัน จะป้องกันการเกิดแผล (erosion) ในกระเพาะอาหารจากแอสไพรินได้ (7) และหนูถีบจักรที่กินอาหารผสมกล้วยก่อนถูกทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารด้วยฮีสตามีน 1 สัปดาห์ จะลดการเกิดแผล (8)
ผลกล้วยหอมดิบขนาด 7 ก./ตัว/วัน มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นจาก indomethacin 20 มก./กก. ส่วนกล้วยน้ำว้าดิบไม่มีฤทธิ์ เมื่อทดลองสกัดสารออกฤทธิ์ด้วยอัลกอฮอล์ 60% พบว่าสารสกัดจากกล้วยหอมและกล้วยพาโลดิบ ขนาด 0.5 และ 1 ก./กก. มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจาก indomethacin และรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากกรดอะซิติค แต่มีฤทธิ์ต่ำ (9) ความยาวเฉลี่ยของแผลในกระเพาะอาหารหนูขาวที่กินสารสกัดจากกล้วยพาโลและกล้วยหอมในขนาด 1 ก./กก./วัน นาน 3 วัน ก่อนที่จะเกิดแผลเนื่องจาก indomethacin เท่ากับ 4.47 ±1.2 และ 1.87 ± 0.44 มม. ตามลำดับ (กลุ่มควบคุม 14.56 ±2.43 มม.) และสารสกัดจากกล้วยหอมเท่านั้นที่มีผลในการรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจาก indomethacin แต่มีฤทธิ์ต่ำ และกล้วยทั้ง 2 ชนิดให้ผลคล้ายกันในการรักษาแผลที่เกิดจากกรดอะซิติก (10)
สารแขวนลอยจากผลกล้วย sweet banana ดิบ เมื่อใช้ความเข้มข้นสูงสามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารแบบเฉียบพลันที่เกิดจาก indomethacin เช่นเดียวกับผลของ phosphatidylcholine และเพคตินซึ่งเป็นสารในกล้วย และในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารแบบเรื้อรัง สารแขวนลอยจากกล้วยดิบให้ผลการรักษาไม่สมบูรณ์และออกฤทธิ์ชั่วคราวเท่านั้น (11)
เมื่อให้หนูขาวกินแป้งจากกล้วยป่าขนาด 1 ก./กก. พบว่ายับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจาก indomethacin, เอทานอล และ hypothermic-restraint 69, 44 และ 48% ตามลำดับ (12) หนูขาวที่กินแอสไพริน แล้วกินผลกล้วยป่าดิบ พบว่าป้องกันไม่ให้เกิดแผลได้ เมื่อกินผงกล้วยดิบขนาด 5 ก. และรักษาแผลที่เป็นแล้วในขนาด 7 ก. สารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์เป็น 300 เท่า ของผงกล้วยดิบ ส่วนกล้วยสุกไม่ให้ผล (13)
แป้งจากผลกล้วยออกฤทธิ์สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือก (6, 14) และเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ (6) นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสร้าง macrophage cell อันส่งผลไปถึงการรักษาแผล (15)
5. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สารสำคัญคือ sitoindoside I, II, III, IV, V (15-17) และยังพบว่าสาร leucocyanidins ซึ่งเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารออกฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย (18)
ข้อควรระวัง
เนื่องจากสารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มสเตียรอยด์ การใช้ระยะยาวจึงต้องระมัดระวังเรื่องผลข้างเคียง เนื่องจากยังไม่มีผู้ศึกษาพิษของสารสำคัญ
6. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

6.1 การศึกษาความเป็นพิษ
เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอลและน้ำ (1:1) จากเปลือกผลแห้ง เข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 1 ก./กก. (19) หนูขาวที่กินแป้งจากกล้วย ขนาด 1.25, 2.5 และ 5 ก./กก. นาน 5 สัปดาห์ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา และชีวเคมีเพียงเล็กน้อย ไม่พบความผิดปกติทางสรีรวิทยา (12)


6.2 พิษต่อตับ
เมื่อป้อนน้ำคั้นจากลำต้น ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารในหนู ขนาด 2 ซีซี/ตัว มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ และภายใน 1-7 วัน ระดับแคลเซียม ฟอสฟอรัส ออกซาเลท และกรด glycolic ในเลือดลดลง (20)
6.3 ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดน้ำจากดอกกล้วยไม่ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ (21) และสารสกัดน้ำ (21) และผงแห้งของกล้วยสุกจากกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม และกล้วยไข่ (22) ยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการกลายพันธุ์ด้วย (21, 22)
6.4 พิษต่อยีน
เมื่อทดสอบสารสกัดน้ำของผลกล้วยต่อเซลล์รังไข่ของหนูแฮมสเตอร์ มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อโครโมโซม โดยทำให้โครโมโซมในช่วงการแบ่งตัวนั้นแตกสลาย ซึ่งผลจะลดลงเมื่อหนูแฮมสเตอร์ได้รับ liver microsomal S9 mixture ดังนั้นพิษอาจถูกกำจัดโดยตับ (23)
การศึกษาวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ ถึงผลของ 2-trans-hexenal ซึ่งพบในกล้วย 35 ppm พบว่าเมื่อให้อาสาสมัครอมกลั้วปากด้วยสารละลาย 2-trans-hexenal ความเข้มข้น 10 ppm เป็นเวลา 3 วัน พบว่าปริมาณ micronuclei (MN) เพิ่มขึ้น แสดงว่าเป็นพิษต่อยีน แต่เมื่อให้อาสาสมัครกินกล้วย 3-6 ผล เป็นเวลา 3 วัน อาสาสมัคร 6 ใน 7 คน มี MN เพิ่ม แต่ไม่ต่างจากกลุ่มควบคุม (24)
6.5 ทำให้เกิดอาการแพ้
มีรายงานว่าผู้ที่รับประทานกล้วยอาจเกิดอาการแพ้ได้ พบว่าเมื่อทำ scratch test คนไข้ 1 ใน 2 มีอาการแพ้ เนื่องจากยางกล้วย (25) และพบอาการแพ้ยางกล้วยในคนไข้ (26, 27)
6.6 ฤทธิ์ต้าน thiamin
น้ำคั้นจากกล้วยมีฤทธิ์ต้าน thiamin (28)
6.7 ผลต่อระบบประสาท
เมื่อฉีดน้ำคั้นจากลำต้นเข้าหลอดเลือดแดงใหญ่ของหนูขาว พบว่าทำให้มีอาการเป็นอัมพาต (29, 30)
amine ที่มีอยู่ในกล้วยป่าอาจทำให้ปวดหัวชนิด migraine และไม่ควรรับประทานกล้วยป่าดิบ ต้องทำให้สุกก่อน (31)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น