เปลี่ยนภาษา Blogger

ลิ้นจี่


''ประโยชน์ของ ลิ้นจี่''เพื่อสุขภาพที่ดี

เนื้อลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ เช่น วิตามิน บี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซีน วิตามินเอ ซี วิตามินบี 6 วิตามินอี โปแตสเซี่ยม ทองแดง สังกะสี ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม โฟเลต และมีเส้นใยอาหารสูง นอกจากนี้มีกรดอะมิโนที่เป็นโครงสร้างของโปรตีนได้แก่ ไทโรซีน แอสปาราจีน อะลานีน ทรีโอนีน วาลีน และสารประกอบไกลซีน น้ำมันจากเมล็ดลิ้นจี่มีสารประกอบ เป็นกรดไขมันที่สำคัญเช่น ปาล์มมิติก 12% โอลิอิก 27% และไลโนเลอิค 11% ส่วนเปลือกผลมีสารประกอบประเภท ไซยานิดิน- 3 -กลูโคไซด์ และมัลวิดิน - 3 - อะเซทิล – กลูโคไซด์ 


สรรพคุณทางยา ตามที่ใช้ในประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ นับมาแต่โบราณ เนื้อในผล กินเป็นยาบำรุง 
แก้อาการไอเรื้อรัง แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน ลดกรดในกระ-เพาะอาหาร และบรรเทา
อาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร 

ในประเทศจีนใช้เปลือกผลลิ้นจี่ทำเป็นชา ใช้ชงเพื่อบรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ 
อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส ตำรายาจีนกล่าวเฉพาะเมล็ดลิ้นจี่ 
ว่ามีรสหวาน ขมเล็กน้อย สรรพคุณอุ่น ทำให้พลังชี่ขับเคลื่อน ลดอาการปวด ใช้กรณีปวดท้อง 
ปวดไส้เลื่อน ปวดบวมของอัณฑะ ใช้ขนาด 5-10 กรัม โดยมักผสมกับสมุนไพรอื่นอีก 
หนึ่งหรือสองชนิด เมล็ดลิ้นจี่ ที่แห้ง ควรนำมาบด คั่วให้แห้งโดยผสมด้วยน้ำเกลือ 
 แล้วจึงเติมน้ำลงไปต้ม น้ำดื่ม หรือทำเป็นผง รับประทานหรือใช้ ผงยาพอกบริเวณมีอาการปวดบวม
  รากลิ้นจี่หรือเปลือกต้นใช้แก้อาการติดเชื้อ ไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถ
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

สำหรับ งานวิจัยซึ่ง ยังต้องการพิสูจน์ซ้ำเพื่อให้ได้ผลยืนยัน พบว่า สารสกัดเมล็ด 
ด้วยน้ำขนาด 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้แก่ผู้ที่เป็นพาหะโรคไวรัสตับชนิด บี ใช้ได้ผลดี
ในการยับยั้งเอ็นไซม์ตับที่สูงขึ้น
งานวิจัยเปลือก ของผลลิ้นจี่มีสารกลุ่มฟลาโวนอลที่สำคัญคือ โพรไซยาไนดินบี 4 ไพรไซยา-
 ไนดินบี 2 และอีพิคาเทชิน ส่วนที่สำคัญคือ ไซยาไนดิน - 3 - รูตินโนไซด์ ไซยาไนดิน- 3 
กลูโคไซด์ เควอเซทิน – 3 - รูติโนไซด์ และเควอเซทิน - 3 - กลูโคไซด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง 
และสารสกัดเปลือกยัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์ มะเร็งเต้านม ทั้งในห้องทดลองและในสัตว์ทดลอง 
โดยยับยั้งการขยายจำนวนเซลล์ การควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็ง  และเหนี่ยวนำให้เกิดการตาย
ของเซลล์มะเร็งรายงานวิจัยที่ทำในประเทศจีนอื่นๆยังพบว่า สารสกัดลิ้นจี่ลดขนาดเนื้องอกในสัตว์ทดลอง
 แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นสารสกัดส่วนใดของลิ้นจี่ สำหรับงานวิจัย นักวิทยาศาสตร์ของไทย 
พบว่าสารสกัดผลลิ้นจี่มีฤทธิ์ในการปกป้องตับ ในหนูที่เหนี่ยวนำให้ได้รับสารพิษ และเป็นโรคตับ

ผลการใช้ลิ้นจี่และผลวิจัยจากสารสกัดลิ้นจี่ แสดง ศักยภาพของลิ้นจี่ ไม่เพียงแต่มีรสอร่อย
 แต่ยังมากด้วยคุณค่าทางยา อย่างไรก็ดี เนื้อผลลิ้นจี่ ยังมีสารประกอบที่พบในการวิจัย
และคาดว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิด อาการ “ ร้อนใน ” ได้ การรับประทานลิ้นจี่มากเกินไป
อาจเกิดอาการดังกล่าวได้ ควรรับประทานอาหารหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารรสเย็น
 เพื่อให้เกิดความสมดุลและแก้อาการดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น